Forgetting Curve หรือ เส้นกราฟการลืม เป็นหนึ่งในงานวิจัยของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันอย่าง Hermann Eddinghaus ที่ได้บอกเอาไว้ว่าสมองของคนเราจริง ๆ แล้วจะลืมสิ่งที่เรียนรู้เข้าไปใหม่ได้ภายใน 60 นาที ถือว่าเป็นกลไกของสมองที่เราก็อาจจะควบคุมไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วยังมีเทคนิคที่สามารถเอาไปปรับใช้ได้เพื่อให้เราจดจำเนื้อหาได้ดีมากขึ้นจะมีอะไรบ้างก็ต้องลองไปดูกันแล้วแหละ
วิธีนี้คือการสร้างความเกี่ยวข้องเพื่อให้การจดจำดีมากขึ้น ตัวอย่างเช่นคุณกำลังต้องจำคำว่า Nail (ตะปู) ก็ต้องหาคำศัพท์ที่อยู่ในแวดล้อมเดียวกันมาด้วยอย่าง Wall (ผนัง) Hammer (ค้อน) หรือ Windows (หน้าต่าง) ด้วย เพราะมันเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงและทำให้ความจำเราแม่นยำขึ้นได้
ตามชื่อทฤษฎีเป๊ะ ๆ วิธีการนี้คือแนะนำว่าให้ลองสลับเปลี่ยนความสนใจของเราจากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่องหนึ่ง โดยใช้เวลากับสิ่งที่จดจ่ออยู่เพียง 15 - 20 นาที แล้วเปลี่ยนความสนใจตัวเองไปยังเรื่องอื่น ๆ เพราะตามปกติแล้วสมาธิที่ดีที่สุดจะอยู่ในช่วงเวา 15 - 20 นาที แล้วค่อยกลับมาสนใจในเรื่องที่ทำอยู่ จะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาได้ดีมากขึ้น เออน่าสนใจนะวิธีนี้ดีกว่าการต้องกดดันให้ตัวเองอยู่ในการท่องจำตลอดเวลา
บน-ล่าง ขาว-ดำ กลางวัน-กลางคืน ทั้งหมดนี้คือคำตรงข้ามที่เป็นจุดเด่นของวิธีการนี้ เช่นสมมุติคุณกำลังฝึกฝนเรื่องภาษาที่ 2 อยู่ การเรียนรู้คำศัพท์ตรงข้ามจะช่วยเชื่อมโยงคำให้เองโดยปริยาย ประมาณว่าถ้าคุณจำไม่ได้ว่าคำว่ากลางวันคืออะไร อีกคำฝั่งตรงข้ามก็จะมากระตุ้นความทรงจำให้เราย้อนกลับไปจำได้นั่นเอง
การอ่านข้อมูลที่เก่ามาก ๆ จะทำให้เราเกิดความไม่รู้สึกร่วมในการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะต้องการข้อมูลด้านไหนลองใช้อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนเสริมในการตรวจสอบข้อมูลล่าสุดที่อัปเดตแล้วจะดีกว่า เพราะนอกจากเราจะอินไปตามภาษาที่ใช้แล้วการแก้ไขข้อมูลอย่างถูกต้องแล้วก็ทำให้การเรียนรู้กระจ่างมากยิ่งขึ้น
ถ้าใครเคยได้ดูซีรีส์เรื่องฮิตอย่าง Sherlock Holmes บอกเลยว่าตัวละครจุดเจ๋งที่ทำให้เราว้าวอยู่ตลอดทั้งเรื่องนั้นจริง ๆ แล้วเขาให้วิธีการจำแบบโลไซ หรือ Method of Loci เป็นวิธีการที่ใช้กันมานานตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ มันคือการฝากความทรงจำไว้ในที่ที่คุ้นเคย เช่น ถ้าเราต้องการจะจำคำศัพท์ 10 คำ ก็ลองสร้างเส้นทางขึ้นมาภายในบ้านแล้วแปะคำศัพท์เอาไว้ระหว่างทางเดินจากประตูห้องน้ำไปยังห้องครัว คำแรกแปะไว้ที่ตู้เย็น คำที่สองที่เครื่องกรองน้ำ คำที่สามที่ไมโครเวฟ เรียงลำดับไว้ วิธีจะช่วยให้เราเรียงลำดับความจำได้ดีและแม่นยำมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ว่ากันว่าการจดจำแบบ Forced Memorization หรือการถูกบังคับให้จำเป็นเรื่องที่ไม่ Healthy เพราะเราจะไม่ได้รับรู้เรื่องราวอย่างเป็นเหตุเป็นผล แต่การใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเป็นคนจำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วส่วนตัวคิดว่าวิธีไหนนะที่เหมาะกับเรา ลองบอกมาหน่อย